วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

ศิลปินแห่งชาติ(ครูสาคร ยังเขียวสด)

ครูสาคร ยังเขียวสด

 
ศิลปินแห่งชาติสาขา ศิลปะการแสดง ( ละครเล็ก ) ประจำปี พ . ศ . 2539
การละเล่นหุ่น นับเป็นมหรสพที่อยู่คู่สังคมไทยมานานหลายร้อยปีนับจากกำเนิดหุ่นหลวงหรือ หุ่นใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาหุ่นเล็กชุดงิ้ว จีน และหุ่นเล็กชุดรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 การละเล่นหุ่นพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นมหรสพของชาวบ้านประกอบด้วยหุ่นกระบอกและ  หุ่นละครเล็ก
หุ่นละครเล็ก นับเป็นมหรสพที่มีเอกลักษณ์อยู่ที่ลีลาการเคลื่อนไหวเหมือนมีชีวิต อันเกิดจากการสานศิลปะหลายแขนง ปัจจุบันมี เพียงคณะสาครนาฏศิลป์คณะเดียวที่มีความรู้ ความสามารถในการแสดงหุ่นละครเล็ก โดยมีครูสาคร ยังเขียวสดศิลปินแห่งชาติสาขา ศิลปะการแสดง 
( ละครเล็ก ) ประจำปี พ . ศ . 2539 เป็นเสาหลักของคณะ
องค์ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์การสร้างและแสดงหุ่นละครเล็กกำลังได้รับการสืบทอดผ่านคนรุ่นที่สองและคนรุ่นถัดไป อีกทั้งยังมี การจัดตั้งคณะโขนเด็กซึ่งเป็นเสมือนเวทีเตรียมความพร้อมและบ่มเพาะความรักความผูกพันต่อศิลปะการแสดง
                การแสดงหุ่นละครเล็กคณะสาครนาฏศิลป์ สะท้อนให้เห็นมิติของการปรับประยุกต์ และพัฒนาต่อโดยไม่ยึดติดกับขนบเดิมจนเกิน ไป คณะสาครนาฏศิลป์สามารถทำลายข้อจำกัดของการแสดง โดยไม่จำเป็นต้องใช้เวทีหรือฉาก ทำให้สามารถเปิดการแสดงได้ในพื้นที่ จำกัดอีกทั้งยังมีการ    สอดแทรกสถานการณ์ปัจจุบันหรือมุกตลกร่วมสมัย โดยไม่กระทบต่อตัวบทหลักการแสดงอย่าง มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม นับเป็นเสน่ห์อีกประการหนึ่งของหุ่นละครเล็ก ที่ให้ความรู้สึกมีส่วนร่วม และเพิ่มสีสันให้การแสดงดู " สด " ยิ่งขึ้น
                เรื่องราวของครูสาคร ยังเขียวสดและคณะสาครนาฏศิลป์ คืออีกชีวิตอีกฉากหนึ่งของมหรสพดั้งเดิมของไทย สื่อแสดงให้ เห็นพลัง จิตนาการ พลังการเรียนรู้ สร้างสรรค์ ถ่ายทอดภูมิปัญญา ของสังคมไทยผ่านงานศิลปวัฒนธรรม อันเปี่ยมด้วยพลังชีวิต มีความสง่างาม เปี่ยมด้วยอารมณ์ เพื่อเป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจในวิถีชีวิต จิตวิญญาณของวัฒนธรรมไทยระหว่างคนรุ่นต่อรุ่นและเพื่อเปิดอีกหนึ่งมุมมองต่ออนาคตความอยู่รอดของศิลปวัฒนธรรมไทยที่มาของ โจหลุยส์เธียเตอร์

                                                สาคร ยังเขียวสด " โจหลุยส์ " ครูผู้ให้ชีวิต

มหรสพหุ่นละครเล็กห่างหายจากวิถีชีวิตของคนไทยไปนานเกือบ ๕๐ ปี กว่าจะได้ปรากฏสู่ความ
รับรู้และความเข้าใจของสาธารณ ชนอีกเป็นครั้งแรกในปี พ . ศ . ๒๕๒๘ โดยมีนายสาคร ยังเขียวสด หรือครูโจหลุยส์ เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และปรับประยุกต์หุ่นละครเล็ก เพื่อถ่ายทอดศาสตร์และ
ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กแก่คนรุ่นหลัง
นายสาคร ยังเขียวสด เป็นบุตรของนายคุ่ยและนางเชื่อม ยังเขียวสด ซึ่งทั้งสองเป็นศิลปินโขนละคร
นายสาคร ยังเขียวสด เกิดปี พ . ศ . ๒๔๖๗ คุณย่าหลั่งภรรยาพ่อครูแกรตั้งชื่อให้ว่า " สาคร "
เพราะขณะนั้นหุ่นละครเล็กพ่อครูแกรกำลังแสดงเรื่องพระอภัยมณีคุณย่าปลั่ง จึงนำชื่อ 
" สุดสาคร " ตัวละครในเรื่องพระอภัยมณีมาตั้งเป็นชื่อให้ .. อันเป็นที่มาของชื่อโรงละคร 
โจหลุยส์เธียเตอร์
นายสาคร ยังเขียวสด มีชื่อเล่นเมื่อครั้งยังเด็ก ว่า " หลิว " แต่ครั้นโตขึ้นได้เข้าสู่วงการแสดง ได้เป็น
เจ้าของคณะลิเก และชอบแสดง เป็นตัวตลกประจำคณะ จึงมีผู้เรียกชื่อเล่นเพี้ยนจากหลิวเป็น หลุยส์ 
และภายหลังมีผู้เติมสมญานามว่า โจ ให้อีก จึงกลายเป็น โจหลยส์ ซึ่ง เป็นชื่อที่รู้จักกันอย่าง
กว้างขวางในวงการแสดง และปัจจุบันได้นำชื่อ โจหลุยส์ มาตั้งเป็นชื่อของโรงละครโดยใช้ชื่อว่า 
" โจหลุยส์เธีย เตอร์ "


             หุ่นละครเล็กกลับมาโลดเต้นบนเวทีการแสดงเป็นครั้งแรกหลังจากหายไปนานกว่า ๕๐ ปีในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทยปี พ . ศ . ๒๕๒๘ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ขอร้องให้ครูโจหลุยส์ จัดกาแสดงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ครูโจหลุยส์จึงตัดสินใจทำพิธีบูชาพ่อครูแกรเจ้าของหุ่นเพื่อขออนุญาตจัดทำหุ่นเพิ่มเติม ในงานนี้ครูโจหลุยส์ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณแสดงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ณ สวนอัมพรและแสดงสาธิตหุ่นละครเล็กที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่ง ประเทศไทย ในปี พ . ศ . ๒๕๓๐

ในขณะนั้นครูโจหลุยส์ได้ตั้งชื่อคณะหุ่นละครเล็กของท่านว่า หุ่นละครเล็กคณะสาครนาฏศิลป์ละครเล็กหลานครูแกร " หุ่นละคร เล็กของครูโจหลุยส์เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมเป็นอันมากด้วยลักษณะพิเศษของหุ่นละครเล็กที่เคลื่อนไหวได้ทุกส่วนคล้ายคนจริงและความ สวยงามของเครื่องแต่งกายแบบโขนละครจริง รวมทั้งศิลปะการเชิดที่แตกต่างจากการเชิดหุ่นกระบอกที่คุ้นเคย
       หุ่นละครเล็กของครูโจหลุยส์ ได้รับการพัฒนาให้สามารถหันหน้าได้ทุกตัว มีรูปทรงได้สัดส่วนงดงามมากขึ้น ใส่เครื่องประดับที่ งดงามมากขึ้น และมีความประณีตในการแสดงมากขึ้นเพื่อให้หุ่นมีท่วงท่าการรำ และการเจรจาเหมือนคนจริงทั้งยังคิดให้มีการเชิดหน้า โรง เพื่อให้ผู้ชมได้มีโอกาสชมลีลาการแสดงของผู้เล่นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และมีการสาธิตวิธีการเชิดก่อนการแสดงด้วยนอกจากนี้ครูโจหลุยส์ ยังได้ดัดแปลงให้หุ่นละครเล็กแสดงเรื่องรามเกียรติ์โดยสมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องสนุก ตัวละครมีความสง่างาม เดิมหุ่นละครเล็กจะแสดงเรื่องรามเกียรติ์เพียงเล็กน้อยเฉพาะตอนเปิดเรื่อง เพื่อเป็นการเบิกโรงเท่านั้น ต่อจากนั้นจะแสดงละครซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องพระอภัยมณี
                หุ่นละครเล็กคณะครูโจหลุยส์ จึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายผ่านสื่อมวลชนรวมทั้งได้รับการเชิดชูจาก
สถาบันการศึกษาต่าง ๆ อีกทั้งยังได้ เป็นตัวแทนประเทศไทยไปเผยแพร่ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กในประเทศต่าง ๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น