วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณีไทย

ประเพณีกวนขนมอาซูรอ

ประเพณีไทยท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิม


ประเพณีกวนขนมอาซูรอ เป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่า "อาซูรอ" เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม อันเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ชาวบ้าน นิยมกวนขนมอาซูรอกันในเดือนนี้ จึงเรียกกันว่า ขนมอาซูรอ

คำว่า อาซูรอ  แปลว่า  การผสม  การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน   การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว 
อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกัน เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน                                                                                                                      จึงจะแจกให้คนทั่วไปรับประทานกัน

ขนมอาซูรอ เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ผู้คนรู้กันทั่วว่าจะกวนขนมอาซูรอ ที่ไหน เมื่อใด พอถึงวันกำหนดนัด ชาวบ้านก็จะช่วยกันนำอาหารดิบ อันเป็นเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มารวมกัน ผู้คนจะมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าภาพผู้เชิญชวน เมื่อได้ของมามาก พอแล้วก็จะช่วยกันกวน








วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา


ประวัติความเป็นมา

         ๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
          ๑. วันนั้นเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
          ๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้ นัดหมาย
          ๓. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
          ๔. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจาก พระพุทธเจ้า

ความสำคัญ
วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์
ผู้ได้อภิญญา ๖และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส

การถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย
พิธีวันมาฆบูชานี้ เดิมทีเดียวในประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงถือตามแบบของโบราณบัณฑิตที่ได้นิยมกันว่า วันมาฆะบูรณมี พระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของ พระพุทธเจ้า ๑,๒๕๐ รูป ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ เรียกว่า
 จาตุรงคสันนิบาตพระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการ ประชุมใหญ่ และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ จึงถือเอาเหตุนั้นประกอบ การสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูปนั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใสการประกอบพิธีมาฆะบูชา ได้เริ่มในพระบรมมหาราชวังก่อน
 ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพิธีการพระราชกุศลในเวลาเช้า พระสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารและ วัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำ เสด็จออกทรงจุด ธูปเทียนเครื่อง มนัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไปมี สวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วยสวดมนต์ จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนา โอวาทปาติโมกข์
๑ กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและ ภาษาไทย เครื่องกัณฑ์ มีจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนมต่าง ๆ เทศนาจบพระสงฆ์ ซึ่งสวดมนต์ ๓๐ รูป สวดรับการประกอบพระราชกุศลเกี่ยวกับ วันมาฆบูชาในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปีมิได้ขาด สมัยต่อมามีการเว้นบ้าง เช่น รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกเองบ้าง มิได้ เสด็จออกเองบ้างเพราะมักเป็นเวลาที่ประสบกับเวลาเสด็จประพาส หัวเมืองบ่อย ๆ หากถูกคราวเสด็จไปประพาสบางปะอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชา ในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีก ส่วนหนึ่งต่างหากจากในพระบรมมหาราชวังเดิมทีมีการประกอบพิธีในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาก็ขยายออกไป ให้พุทธบริษัทได้ ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบัน มีการบูชา ด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ส่วนกำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๓ หากปีใด เป็นอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔



เกาะลอยศรีราชา

เกาะลอยศรีราชา 






เกาะลอยศรีราชา ตั้งอยู่ที่ถนนเทศบาล ทางทิศเหนือของตลาดศรีราชา เป็นเกาะเล็ก ๆ ใกล้ชายฝั่ง ซึ่งมีสะพานคอนกรีตเชื่อมระหว่างชายฝั่งกับเกาะลอย รถเข้าถึงเกาะได้โดยสะดวก มีเนื้อที่ราว 3 ไร่เศษ บนเกาะมีสวนสาธารณะและสวนเต่าทะเล มีบันไดทางเดินขึ้นไปยังวัดที่อยู่บนยอดเขา
สะพานเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เป็นสะพานเชื่อมเกาะลอยกับฝั่งศรีราชา

            วิหารหลวงพ่อทันใจ
                  ชายฝั่งศรีราชาที่เกาะลอย ระหว่างการเดินทางไปเกาะลอยสามารถมองเห็นชายฝั่งส่วนที่เป็นตัวเมืองศรีราชาเลียบทะเลได้
              สวนสาธารณะเกาะลอย ถึงทางเข้าเกาะลอยแล้วบนเกาะลอยมีลานจอดรถที่รองรับรถได้เป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวที่ขับรถมาจอดเพื่อข้ามไปเกาะสีชังก็จะจอดที่สวนสาธารณะแล้วเดินไปก็ได้ในกรณีที่ลานจอดรถของท่าเรือเต็ม
             พระโพธิสัตว์กวนอิม

                 จุดชมวิวเกาะลอย เห็นท่าเรือสำหรับเดินทางสู่เกาะสีชัง(ขวาบน) หรือเกาะขาม เกาะ ค้างคาวได้ มีลานจอดรถที่รองรับได้ประมาณ 60 - 80 คัน ถ้าเต็มก็จอดที่ลานจอดรถสวนสาธารณะเกาะลอยแล้วเดินต่อไปอีกหน่อย ส่วนด้านซ้ายเป็นวิหารพระโพธิสัตว์กวนอิม หันพระพักตร์ไปทางทะเล เมื่อขึ้นเรือแล้วจะมองเห็นด้านหน้า

           ท่าเรือเกาะลอย ไปเกาะสีชัง


           ร้านอาหารเกาะลอย


     ของฝากเกาะลอย



วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ไส้ติ่งจร้า

ไส้ติ่งอักเสบ
 

                           ไส้ติ่งอักเสบพบเป็นสาเหตุอันดับแรกๆ ของโรคปวดท้องที่ต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเร่งด่วน บ่อยครั้งที่พบว่าผู้ป่วยปล่อยให้มีอาการปวดท้องนานหลายวันแล้วค่อยมาโรงพยาบาล     ซึ่งมักจะพบว่าเป็นถึงขั้นไส้ติ่งแตกเสียแล้ว ดังนั้น ใครก็ตามที่มีอาการปวดท้องมากติดต่อกันนานเกิน 6 ชั่วโมงขึ้นไป ก็ควรจะรีบไปพแพทย์ใกล้บ้าน เนื่องเพราะถ้าไม่เป็นไส้ติ่งอักเสบ   ก็มักเป็นโรคปวดท้องร้ายแรงอื่นๆ  เสมอเป็นส่วนของลำไส้ มีความยาวประมาณ  3-4 นิ้ว ที่ยื่นออกมาจากส่วนต้นของลำไส้ใหญ่ (cecum)    อยู่ตรงบริเวณท้องน้อยข้างขวา   ภายในมีรูติดต่อกับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ไส้ติ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ที่ฝ่อตัวลง        และไม่ได้ทำหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมอาหารไส้ติ่งอักเสบเกิดจากมีภาวะอุดกั้นของรูไส้ติ่ง      ส่วนการอุดกั้นนั้นส่วนหนึ่งเป็นการเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด     แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากมีเศษอุจจาระแข็งๆ      เรียกว่า  "นิ่วอุจจาระ" (facility) ชิ้นเล็กๆ ตกลงไปอุดกั้นอยู่ภายในรูของไส้ติ่ง     แล้วทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในรูไส้ติ่งจำนวนน้อยเกิดการเจริญแพร่พันธุ์และรุกล้ำเข้าไปในผนังไส้ติ่ง จนเกิดการอักเสบตามมา หากปล่อยไว้เพียงไม่กี่วัน ผนังไส้ติ่งก็เกิดการเน่าตายและแตกทะลุได้


อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องที่มีลักษณะต่อเนื่องและปวดแรงขึ้นนานเกิน ๖ ชั่วโมงขึ้นไป ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็มักจะปวดอยู่นานหลายวัน จนผู้ป่วยทนปวดไม่ไหวต้องพาส่งโรงพยาบาลแรกเริ่มอาจปวดแน่นตรงลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะ บางคนอาจปวดบิดเป็นพักๆ รอบๆ สะดือ คล้ายอาการปวดแบบท้องเสีย อาจเข้าส้วมบ่อย แต่ถ่ายไม่ออก (แต่บางคนอาจมีอาการถ่ายเป็นน้ำหรือ ถ่ายเหลวร่วมด้วย)ต่อมาจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารร่วมด้วย อาการปวดท้องมักจะไม่ทุเลา แม้ว่าจะกินยาแก้ปวดอะไรก็ตาม ต่อมาอีก 3-4 ชั่วโมง อาการปวดจะย้ายมาที่ท้องน้อยข้างขวา มีลักษณะปวดเสียดตลอดเวลา และจะเจ็บมากขึ้นเมื่อมีการขยับเขยื้อนตัว หรือเวลาเดินหรือไอจาม ผู้ป่วยจะนอนนิ่งๆ ถ้าเป็นมากผู้ป่วยจะนอนงอขา ตะแคงไปข้างหนึ่ง หรือเดินตัวงอ เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้นเมื่อถึงขั้นที่มีอาการอักเสบของไส้ติ่งชัดเจน มีวิธีตรวจอย่างง่ายๆ คือ ให้ผู้ป่วยนอนหงายแล้วใช้มือกดลงลึกๆ หรือใช้กำปั้นทุบเบาๆ ตรงบริเวณไส้ติ่ง (ท้องน้อยข้างขวา)ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บมาก (เรียกว่า อาการกดเจ็บ) ผู้ป่วยอาจมีไข้ต่ำๆ (วัดปรอทพบอุณหภูมิ 37.7-38.3 องศาเซลเซียส) 
การรักษา  ถ้าตรวจพบว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ  แพทย์จะทำ การผ่าตัดไส้ติ่งอย่างเร่งด่วน
การปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด
1.การเตรียมความสะอาดร่างกาย เช่นการอาบน้ำ สระผม ตัดเล็บ ให้สั้น ล้างสีเล็บออก เพื่อช่วยให้แพทย์ พยาบาล สังเกตอาการผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดออกซิเจน ในระหว่างการผ่าตัดและหลังผ่าตัด
2.การถอดของมีค่าต่างๆ การถอดฟันปลอม เพื่อป้องกันการหลุดของฟันปลอมเข้าไปอุดหลอดลม ขณะผ่าตัด
3.งดการใช้ครีมและเครื่องสำอางทุกชนิด
4.การงดอาหารและน้ำหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด หรืออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนผ่าตัด เพื่อให้ระบบย่อยอาหารว่าง
เพื่อความปลอดภัยปราศจากภาวะแทรกซ้อนขณะทำการผ่าตัด ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
1.กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกจากเตียงหลังผ่าตัดใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวเร็วขึ้น ท้องไม่อืด
2.การงดอาหารและน้ำหลังผ่าตัดวันแรก จนกว่าจะมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ โดยเริ่มจิบน้ำ ถ้าไม่มีอาการท้องอืด จะเริ่มให้อาหารเหลว อาหารอ่อน และอาหารธรรมดาตามลำดับ
3.กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออก ลึกๆและไอถูกวิธี
4.การดูแลแผลผ่าตัด
· ระวังมิให้ผ้าปิดแผลเปียกน้ำ และห้ามเกาแผล เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบ บวม แดง ได้
· เวลาไอ ใช้มือประคองแผล ป้องกันแผลแยก
5.การรักษาความสะอาดของร่างกาย ถ้าแผลยังไม่แห้ง ให้เช็ดตัวจนกว่าแผลจะแห้ง
6.การรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์
7.การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โปรตีนสูง เช่น ไข่ ปลา เพื่อให้แผลติดเร็วขึ้น
8.การรักษาสุขนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอ ป้องกันอาการท้องผูก ทำให้ต้องออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระมาก ทำให้เพิ่มความดันในช่องท้อง มีผลให้แผลที่เย็บซ่อมแซมไว้แยกได้
9.ควรพักผ่อนให้เพียงพอโดยเฉพาะ 1-2 สัปดาห์
10.มาพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น แผลมีหนอง บวม แดง
11.การมาตรวจตามแพทย์นัด