ไส้ติ่งอักเสบ
ไส้ติ่งอักเสบพบเป็นสาเหตุอันดับแรกๆ ของโรคปวดท้องที่ต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเร่งด่วน บ่อยครั้งที่พบว่าผู้ป่วยปล่อยให้มีอาการปวดท้องนานหลายวันแล้วค่อยมาโรงพยาบาล ซึ่งมักจะพบว่าเป็นถึงขั้นไส้ติ่งแตกเสียแล้ว ดังนั้น ใครก็ตามที่มีอาการปวดท้องมากติดต่อกันนานเกิน 6 ชั่วโมงขึ้นไป ก็ควรจะรีบไปพแพทย์ใกล้บ้าน เนื่องเพราะถ้าไม่เป็นไส้ติ่งอักเสบ ก็มักเป็นโรคปวดท้องร้ายแรงอื่นๆ เสมอเป็นส่วนของลำไส้ มีความยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ที่ยื่นออกมาจากส่วนต้นของลำไส้ใหญ่ (cecum) อยู่ตรงบริเวณท้องน้อยข้างขวา ภายในมีรูติดต่อกับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ไส้ติ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ที่ฝ่อตัวลง และไม่ได้ทำหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมอาหารไส้ติ่งอักเสบเกิดจากมีภาวะอุดกั้นของรูไส้ติ่ง ส่วนการอุดกั้นนั้นส่วนหนึ่งเป็นการเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากมีเศษอุจจาระแข็งๆ เรียกว่า "นิ่วอุจจาระ" (facility) ชิ้นเล็กๆ ตกลงไปอุดกั้นอยู่ภายในรูของไส้ติ่ง แล้วทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในรูไส้ติ่งจำนวนน้อยเกิดการเจริญแพร่พันธุ์และรุกล้ำเข้าไปในผนังไส้ติ่ง จนเกิดการอักเสบตามมา หากปล่อยไว้เพียงไม่กี่วัน ผนังไส้ติ่งก็เกิดการเน่าตายและแตกทะลุได้
อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องที่มีลักษณะต่อเนื่องและปวดแรงขึ้นนานเกิน
๖ ชั่วโมงขึ้นไป ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็มักจะปวดอยู่นานหลายวัน
จนผู้ป่วยทนปวดไม่ไหวต้องพาส่งโรงพยาบาลแรกเริ่มอาจปวดแน่นตรงลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะ
บางคนอาจปวดบิดเป็นพักๆ รอบๆ สะดือ คล้ายอาการปวดแบบท้องเสีย อาจเข้าส้วมบ่อย
แต่ถ่ายไม่ออก (แต่บางคนอาจมีอาการถ่ายเป็นน้ำหรือ
ถ่ายเหลวร่วมด้วย)ต่อมาจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารร่วมด้วย
อาการปวดท้องมักจะไม่ทุเลา แม้ว่าจะกินยาแก้ปวดอะไรก็ตาม ต่อมาอีก 3-4 ชั่วโมง
อาการปวดจะย้ายมาที่ท้องน้อยข้างขวา มีลักษณะปวดเสียดตลอดเวลา และจะเจ็บมากขึ้นเมื่อมีการขยับเขยื้อนตัว
หรือเวลาเดินหรือไอจาม ผู้ป่วยจะนอนนิ่งๆ ถ้าเป็นมากผู้ป่วยจะนอนงอขา
ตะแคงไปข้างหนึ่ง หรือเดินตัวงอ
เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้นเมื่อถึงขั้นที่มีอาการอักเสบของไส้ติ่งชัดเจน
มีวิธีตรวจอย่างง่ายๆ คือ ให้ผู้ป่วยนอนหงายแล้วใช้มือกดลงลึกๆ
หรือใช้กำปั้นทุบเบาๆ ตรงบริเวณไส้ติ่ง (ท้องน้อยข้างขวา)ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บมาก
(เรียกว่า อาการกดเจ็บ) ผู้ป่วยอาจมีไข้ต่ำๆ
(วัดปรอทพบอุณหภูมิ 37.7-38.3 องศาเซลเซียส)
การปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด
1.การเตรียมความสะอาดร่างกาย
เช่นการอาบน้ำ สระผม ตัดเล็บ ให้สั้น ล้างสีเล็บออก เพื่อช่วยให้แพทย์ พยาบาล
สังเกตอาการผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดออกซิเจน ในระหว่างการผ่าตัดและหลังผ่าตัด
2.การถอดของมีค่าต่างๆ
การถอดฟันปลอม เพื่อป้องกันการหลุดของฟันปลอมเข้าไปอุดหลอดลม ขณะผ่าตัด
3.งดการใช้ครีมและเครื่องสำอางทุกชนิด
4.การงดอาหารและน้ำหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด
หรืออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนผ่าตัด เพื่อให้ระบบย่อยอาหารว่าง
เพื่อความปลอดภัยปราศจากภาวะแทรกซ้อนขณะทำการผ่าตัด
ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
1.กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกจากเตียงหลังผ่าตัดใน
24 ชั่วโมงแรก เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวเร็วขึ้น
ท้องไม่อืด
2.การงดอาหารและน้ำหลังผ่าตัดวันแรก
จนกว่าจะมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ โดยเริ่มจิบน้ำ ถ้าไม่มีอาการท้องอืด
จะเริ่มให้อาหารเหลว อาหารอ่อน และอาหารธรรมดาตามลำดับ
3.กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออก
ลึกๆและไอถูกวิธี
4.การดูแลแผลผ่าตัด
· ระวังมิให้ผ้าปิดแผลเปียกน้ำ และห้ามเกาแผล เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบ
บวม แดง ได้
· เวลาไอ ใช้มือประคองแผล ป้องกันแผลแยก
5.การรักษาความสะอาดของร่างกาย
ถ้าแผลยังไม่แห้ง ให้เช็ดตัวจนกว่าแผลจะแห้ง
6.การรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์
7.การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
โปรตีนสูง เช่น ไข่ ปลา เพื่อให้แผลติดเร็วขึ้น
8.การรักษาสุขนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอ
ป้องกันอาการท้องผูก ทำให้ต้องออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระมาก
ทำให้เพิ่มความดันในช่องท้อง มีผลให้แผลที่เย็บซ่อมแซมไว้แยกได้
9.ควรพักผ่อนให้เพียงพอโดยเฉพาะ
1-2 สัปดาห์
10.มาพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติ
เช่น แผลมีหนอง บวม แดง
11.การมาตรวจตามแพทย์นัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น